วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

หลักสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง



  1. พอมีพอกิน 
  2. พออยู่พอใช้
  3. พออกพอใจ
1. พอมีพอกิน 
    [V] have enough to get by, Ant. ขัดสนExample: เราควรอยู่อย่างสมถะ ไม่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม พอมีพอกิน และทำงานด้วยความขยันอดทน, Thai definition: มีฐานะปานกลาง 

“...การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกินแบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง...
...ความพอเพียงนี้ ไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอจะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก อย่างนี้ท่านนักเศรษฐกิจต่าง ๆ ก็มาบอกว่าล้าสมัยจริงอาจจะล้าสมัย คนอื่นเขาต้องมีการเศรษฐกิจที่ต้องมีการแลกเปลี่ยน เรียกว่า เป็นเศรษฐกิจการค้าไม่ใช่เศรษฐกิจความพอเพียง เลยรู้สึกว่าไม่หรูหราแต่เมืองไทยเป็นประเทศที่มีบุญอยู่ว่าผลิตให้พอเพียงได้...
...ถ้าสามารถที่จะเปลี่ยนไป ทำให้กลับเป็นเศรษฐกิจแบบพอเพียงไม่ต้องทั้งหมดแม้แต่ครึ่งก็ไม่ต้อง อาจจะสักเศษหนึ่งส่วนสี่ ก็จะสามารถอยู่ได้ การแก้ไขอาจจะต้องใช้เวลา ไม่ใช่ง่าย ๆ โดยมากคนก็ใจร้อนเพราะเดือดร้อน แต่ถ้าทำตั้งแต่เดี๋ยวนี้ก็สามารถที่จะแก้ไขได้...”
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐

2. พออยู่พอใช้

     พออยู่ คือ การที่เราปลูกป่าที่ให้ไม้ พืช ที่จำเป็นต่อการนำมาใช้ทำ ที่อยู่อาศัยต่างๆ เช่น ไม้ทำเสา ไม้ทำพื้น ไม้ทำฝา ไม้ทำโครงสร้างบ้านต่างๆ เป็นต้น ครั้นเมื่อเหลือใช้ เราก็แบ่งจ่ายแจก ขาย เป็นรายได้เสริมให้ครอบครัวได้

    พอใช้ คือ การปลูกป่าให้มีพืชที่เราจะต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ยา ขนม ผลไม้ เครื่องปรุง เป็นต้น ครั้นเมื่อเราใช้ได้อย่างพอเพียงแล้ว เราก็แบ่งออกขายหารายได้แก่ครอบครัวได้


3. พออกพอใจ
       เราต้องรู้จักพอรู้จัก ประมาณตนไม่ใช่อยากใคร่มีเหมือนผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดไปกับวัตถุวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง วัฒนธรรม หรือวิถีชีวิตของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีหลักปฏิบัติตนอยู่ ๕ ประการคือ
        ๑.มีชีวิตที่เรียบง่ายยึดความประหยัดตัดตอนค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลดละความฟุ่มเฟือย ในการดำรงชีพ
        ๒. ยึดทางสายกลางรู้จักพอดี พอเพียงพอประมาณ และพอใจ
        ๓.มีความเมตตาเอื้ออาทรต่อกันร่วมกันและช่วยเหลือกันไม่เบียดเบียนกันไม่มุ่งทำร้า ยกัน
        ๔.ประกอบอาชีพด้วยความขยันหมั่นเพียรซื่อสัตย์สุจริตใฝ่หาความรู้เพื่อนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์
        ๕.ให้สามารถพึ่งตนเอง ได้สามารถพออยู่พอกินไม่เดือดร้อนไม่ตกเป็นทาสทางวัตถุนิ
ยม
ปรัชญาเศรษฐกิจตามวิถีพุทธปรัชญาเศรษฐกิจตาม วิถีพุทธคือเศรษฐกิจมัชฌิมาเพื่อพัฒ นาคุณภาพชีวิตและการไม่เบียดเบียนกันพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตโต)กล่าวว่า เศรษฐศาส ตร์แนวพุทธคือเศรษฐศาสตร์สายกลางหรือเศรษฐศาสตร์มัชฌิมาปฏิปทา เนื่องด้วยมีระบบ ชีวิตหรือวิถีชีวิตในพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า  มรรคนั้นก็มีชื่ออยู่ชัดๆแล้วว่ามัชฌิมาปฏิปทา เช่นสัมมาอาชีวะและสัมมาอื่นๆคือความถูกต้องและความพอดี ความเป็นมัชฌิมาคือความ เป็นกลางๆ  เป็นความพอดีนั้นเองในทรรศนะดังกล่าวนี้ได้เสนอความเห็นให้พิจารณาว่าความ
จำเริญทางเศรษฐกิจหรือความมั่งคั่งนั้นมีอยู่และเป็นไปเพื่ออะไรกันแน่ถ้าหากมิใช่เป็นไปเพื่อ การเพิ่มพูนคุณภาพแห่งชีวิตของประชาชนแล้วก็ไม่น่าจะถือได้ว่าเป็นความเจริญ รุ่งเรืองและ ความมั่งคั่งแท้จริงหลักพุทธธรรมหรือหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจตามวิถีพุทธ