วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

หลักสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง



  1. พอมีพอกิน 
  2. พออยู่พอใช้
  3. พออกพอใจ
1. พอมีพอกิน 
    [V] have enough to get by, Ant. ขัดสนExample: เราควรอยู่อย่างสมถะ ไม่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม พอมีพอกิน และทำงานด้วยความขยันอดทน, Thai definition: มีฐานะปานกลาง 

“...การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกินแบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง...
...ความพอเพียงนี้ ไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอจะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก อย่างนี้ท่านนักเศรษฐกิจต่าง ๆ ก็มาบอกว่าล้าสมัยจริงอาจจะล้าสมัย คนอื่นเขาต้องมีการเศรษฐกิจที่ต้องมีการแลกเปลี่ยน เรียกว่า เป็นเศรษฐกิจการค้าไม่ใช่เศรษฐกิจความพอเพียง เลยรู้สึกว่าไม่หรูหราแต่เมืองไทยเป็นประเทศที่มีบุญอยู่ว่าผลิตให้พอเพียงได้...
...ถ้าสามารถที่จะเปลี่ยนไป ทำให้กลับเป็นเศรษฐกิจแบบพอเพียงไม่ต้องทั้งหมดแม้แต่ครึ่งก็ไม่ต้อง อาจจะสักเศษหนึ่งส่วนสี่ ก็จะสามารถอยู่ได้ การแก้ไขอาจจะต้องใช้เวลา ไม่ใช่ง่าย ๆ โดยมากคนก็ใจร้อนเพราะเดือดร้อน แต่ถ้าทำตั้งแต่เดี๋ยวนี้ก็สามารถที่จะแก้ไขได้...”
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐

2. พออยู่พอใช้

     พออยู่ คือ การที่เราปลูกป่าที่ให้ไม้ พืช ที่จำเป็นต่อการนำมาใช้ทำ ที่อยู่อาศัยต่างๆ เช่น ไม้ทำเสา ไม้ทำพื้น ไม้ทำฝา ไม้ทำโครงสร้างบ้านต่างๆ เป็นต้น ครั้นเมื่อเหลือใช้ เราก็แบ่งจ่ายแจก ขาย เป็นรายได้เสริมให้ครอบครัวได้

    พอใช้ คือ การปลูกป่าให้มีพืชที่เราจะต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ยา ขนม ผลไม้ เครื่องปรุง เป็นต้น ครั้นเมื่อเราใช้ได้อย่างพอเพียงแล้ว เราก็แบ่งออกขายหารายได้แก่ครอบครัวได้


3. พออกพอใจ
       เราต้องรู้จักพอรู้จัก ประมาณตนไม่ใช่อยากใคร่มีเหมือนผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดไปกับวัตถุวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง วัฒนธรรม หรือวิถีชีวิตของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีหลักปฏิบัติตนอยู่ ๕ ประการคือ
        ๑.มีชีวิตที่เรียบง่ายยึดความประหยัดตัดตอนค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลดละความฟุ่มเฟือย ในการดำรงชีพ
        ๒. ยึดทางสายกลางรู้จักพอดี พอเพียงพอประมาณ และพอใจ
        ๓.มีความเมตตาเอื้ออาทรต่อกันร่วมกันและช่วยเหลือกันไม่เบียดเบียนกันไม่มุ่งทำร้า ยกัน
        ๔.ประกอบอาชีพด้วยความขยันหมั่นเพียรซื่อสัตย์สุจริตใฝ่หาความรู้เพื่อนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์
        ๕.ให้สามารถพึ่งตนเอง ได้สามารถพออยู่พอกินไม่เดือดร้อนไม่ตกเป็นทาสทางวัตถุนิ
ยม
ปรัชญาเศรษฐกิจตามวิถีพุทธปรัชญาเศรษฐกิจตาม วิถีพุทธคือเศรษฐกิจมัชฌิมาเพื่อพัฒ นาคุณภาพชีวิตและการไม่เบียดเบียนกันพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตโต)กล่าวว่า เศรษฐศาส ตร์แนวพุทธคือเศรษฐศาสตร์สายกลางหรือเศรษฐศาสตร์มัชฌิมาปฏิปทา เนื่องด้วยมีระบบ ชีวิตหรือวิถีชีวิตในพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า  มรรคนั้นก็มีชื่ออยู่ชัดๆแล้วว่ามัชฌิมาปฏิปทา เช่นสัมมาอาชีวะและสัมมาอื่นๆคือความถูกต้องและความพอดี ความเป็นมัชฌิมาคือความ เป็นกลางๆ  เป็นความพอดีนั้นเองในทรรศนะดังกล่าวนี้ได้เสนอความเห็นให้พิจารณาว่าความ
จำเริญทางเศรษฐกิจหรือความมั่งคั่งนั้นมีอยู่และเป็นไปเพื่ออะไรกันแน่ถ้าหากมิใช่เป็นไปเพื่อ การเพิ่มพูนคุณภาพแห่งชีวิตของประชาชนแล้วก็ไม่น่าจะถือได้ว่าเป็นความเจริญ รุ่งเรืองและ ความมั่งคั่งแท้จริงหลักพุทธธรรมหรือหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจตามวิถีพุทธ


วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556

แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

ภาพในบรรทัด 1
» Q&A กับ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ...เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา

Q : แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มมาจากอะไร ?

A : เริ่มมาจากปัญหาที่เรา...ไปเจอนั่นแหละ โลกเวลานี้ก็บริโภคเสียจนกระทั่งเกินเหตุ แล้วก็เกิดวิกฤตซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถ้าพูดไปแล้วมีตัวเลขน่ากลัวมาก คือว่า...ชาวโลกบริโภคทรัพยากรธรรมชาติไปในอัตรา ๓ ต่อ ๑ คือบริโภคไป ๓ ส่วน แต่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติชดเชยกลับมาได้เพียง ๑ ส่วน

ถ้าเราบริโภคในอัตราความเร็วอย่างนี้ก็หมด น้ำมันก็เริ่มมีสงครามแย่งน้ำมันกันแล้วใช่ไหม อีกหน่อยก็มีสงครามแย่งน้ำ สงครามแย่งทรัพยากรกัน แล้วก็มันไม่เพียงพอกับประชากรที่เพิ่มขึ้น ๆ ในขณะนี้ ก็คูณไปสิ มากขึ้น ๆ

เพราะฉะนั้นพอมันเป็นอย่างนี้ หันมาดูประเทศไทยมันก็แบบเดียวกันอีก โลกาภิวัตน์...เราก็ตามโลก มุ่งหาความร่ำรวย มุ่งหาความเจริญเติบโต

แล้วถ้าตัวเองไม่สร้างฐานรากทางเศรษฐกิจและสังคมเอาไว้อย่างมั่นคง พอเศรษฐกิจโตแล้วมันก็แตกเป็นฟองสบู่แบบที่เห็นกันมาหลายครั้งแล้ว โตแล้วก็แตก คือไม่ได้สร้างฐานราก

ก็เลยพระราชทานแนวหลักมาว่า ให้ใช้ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ชีวิตหลักเช่นทางสายกลาง โดยพระราชทานหลัก ๓ ประการมาให้

◌◌◌◌◌◌◌◌


หลัก ๓ ประการนั่นก็คือว่า...

● ประการที่ ๑ : ทำอะไรต่าง ๆ นั้นใช้เหตุใช้ผลเป็นเครื่องนำทางได้ไหม ?...อย่าเปลี่ยนตามกระแส

คือตามกระแสโลกเราก็รู้อยู่แล้ว โลกทุกวันนี้มันนำไปสู่ความหายนะซ้ำแล้วซ้ำเล่า เราก็ไม่ควรจะตาม เราควรจะมีแนวทางของเรา

เพราะฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีเหตุมีผล อย่าไปตามกระแส อย่าไปทำอะไรให้มันล้นไปจนกระทั่งเกิดทุกข์ เพราะคำว่าแตกเนี่ย เศรษฐกิจแตกเพราะเราเป่าให้มันแตก มันต้องโตเสียก่อนแล้วมันถึงจะแตก ลูกโป่งมันต้องเป่าก่อนแล้วมันถึงจะแตก

ฉันใดฉันนั้น ถ้าคิดมันก็เป็นสติเตือนใจ แต่เราไม่ชินกับการทำอะไรด้วยเหตุด้วยผล

◌◌◌◌◌◌◌◌


● ประการที่ ๒ : ทำอะไรพอประมาณได้ไหม ?

คือต้องตรวจดูสภาพก่อนว่าสภาพตัวเราแข็งแรงแค่ไหนอย่างไร ศักยภาพของเราอยู่ตรงไหน เราแข็งจุดไหนบ้าง เราอ่อนจุดไหนบ้าง ตรวจสอบศักยภาพของเราเสียก่อน แล้วทำตามพอประมาณของเราในขณะนั้น ในระดับใดระดับหนึ่งที่มันเหมาะสมกับขนาดของเรา

ผมมักจะชอบเปรียบเทียบกับมวย เราจะไปถึงแชมป์โลกได้ต้องบอกว่ารุ่นไหน ถ้ารุ่นเล็กนี่มาเลย อันนั้นคือความพอประมาณ ศักยภาพเต็มประมาณของเราอยู่ตรงนี้เราสู้ได้ แต่ถ้าชกรุ่นใหญ่ขึ้นไป เราไปไม่ไหว มันเกินจากเราแล้ว

อันนี้คือความพอประมาณ ต้องตรวจสอบสภาพแวดล้อมของเรา มันควรจะเอาเรื่องอะไรมาเป็นที่ตั้งหรือเป็นฐาน

◌◌◌◌◌◌◌◌


● ประการที่ ๓ : จะทำอะไรก็ตามนั้นต้องมี...ภูมิคุ้มกัน !!

คือทำอย่างไรให้นึกถึงวันพรุ่งนี้ว่าพรุ่งนี้มันไม่แน่ ต้องมีหลักประกันอยู่ตลอดเวลา ต้องมีเงินออมไว้หน่อยได้ไหม

สำหรับระดับบุคคลเนี่ยพรุ่งนี้อาจจะไม่สบายก็ได้ เพราะฉะนั้นมีเท่าไหร่ใช้หมด เกิดเจ็บไข้ได้ป่วยจะทำอย่างไร

อย่างเรื่องพลังงาน ดีเซลมันแพงขึ้น ๆ เราจะแสวงหาน้ำมันดีเซลจากพืชหรืออะไรต่ออะไรมาเป็นหลักประกันเรา เราจะได้ไม่ต้องพึ่งภายนอก

ชีวิตเราไม่ต้องขึ้นอยู่กับคนอื่นเขามากเกินไปจนกระทั่งมันขาดอิสรภาพไป อันนี้คือภูมิคุ้มกันที่เราต้องมีตลอดเวลา เพราะว่าอะไรกระทบมาเราจะได้ไม่เดือดร้อน อย่างน้อยเรามีเกราะกำบังของเราไว้

◌◌◌◌◌◌◌◌


อันนั้นคือคำหลัก ๓ ประการ มีเหตุมีผล ต้องยึดความพอประมาณ รู้ศักยภาพของเรา และก็มีภูมิคุ้มกัน

แต่ทรงเน้นว่า...ทั้งหลายทั้งปวงนี้ต้องตั้งอยู่บนฐานจริยธรรมคุณธรรม

คือคนเราต้องมีคุณธรรมต้องมีจริยธรรม ถ้าปราศจากข้อนี้แล้วไม่มีประโยชน์ ร่ำรวยไปถ้าสังคมมันเต็มไปด้วยความทุจริต หรือไม่ซื่อตรง หรือคดโกงกัน หรือเอาเปรียบกัน เบียดเบียนกัน มันก็ไม่มีประโยชน์

เพราะฉะนั้นสังคมทั้งสังคมจะต้องมีจริยธรรมคุณธรรม คือคนต้องดี แล้วเศรษฐกิจพอเพียงที่พระองค์ทรงวางไว้จะได้นำเราไปสู่ "ความร่ำรวยที่ยั่งยืน" ...ไม่ใช่จนลงหรือให้รัดเข็มขัด

ตรงกันข้าม ให้ร่ำรวยแล้วยั่งยืน !!

พระองค์ท่านตรัสว่า เราต้องสร้างรากหรือลงเสาเข็มให้แข็งแรงเสียก่อน แล้วค่อยสร้างบ้าน เพราะฉะนั้นพอบ้านเสร็จแล้วก็จะแข็งแรง

ฉันใดฉันนั้น นี่คือเศรษฐกิจง่าย ๆ เศรษฐกิจพอเพียง แล้วบางคนบอกจะทำเมื่อไหร่ ทำวันนี้พรุ่งนี้ได้เลย ตัวเราเองมีงบเท่านี้ รายได้เท่านี้ ก็อยู่แค่นี้

ไม่ใช่รายได้เท่านี้แต่ไปซื้ออะไรที่มันแพงมาประดับบารมีตามกระแสสังคม ไม่ใช้เหตุใช้ผล มีเงินแค่ซื้อรถคันเล็ก ๆ แต่กลับไปผ่อนรถคันโต ก็แบกไม่ไหว

อาหารการกินก็กินให้มันพอดี กินแพงเกินไป กินมากเกินไปมันก็จุก ไขมันก็เพิ่ม อยู่อย่างเรียบง่ายอยู่อย่างธรรมดาอยู่กับสติอย่างถาวร

◌◌◌◌◌◌◌◌


» บทเสริมท้ายเรื่อง :

ตลอดเวลากว่า ๓๐ ปีที่ ดร. สุเมธได้ถวายงานรับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้ท่านได้รับข้อคิดและบทเรียนอันมีค่ามากมายไม่ว่าในแง่การงานหรือการใช้ชีวิต

ทั้งจากพระบรมราโชวาทในวาระต่าง ๆ และจากการที่ได้ทรงกระทำพระองค์เป็นเยี่ยงอย่าง อาทิ

● การทำงานทั้งหลายต้องทำด้วยใจ ทำด้วยความสนุก

● ทำงานด้วยความรู้ ความรู้จะหยุดนิ่งไม่ได้ ต้องขวนขวายเก็บบันทึกไว้ ความรู้จะต้องพัฒนาอยู่เรื่อย ๆ

● ให้สนุกกับการแก้ปัญหา เห็นปัญหากระโดดเข้าใส่

● ตั้งตนอยู่บนพื้นฐานของความเมตตาและสร้างความสุขให้ผู้อื่น

● หัวสมองต้องทำงานอยู่ตลอด ต้องช่างสังเกต ดูสถานการณ์รอบข้าง อย่าปล่อยให้จิตใจเลื่อนลอย ต้องมี-สติติดตัวตลอด เมื่อมีสติก็มีปัญญา ปัญญาทำให้หูตาสว่าง ไม่หลง

● อย่าฉวยโอกาส ต้องซื่อสัตย์สุจริตระหว่างปฏิบัติงานเป็นที่ตั้ง ฯลฯ


หากเหนืออื่นใด การถวายงานรับใช้ใกล้ชิด ยังทำให้ท่านได้เห็นอย่างชัดเจนถึงพระวิริยะอุตสาหะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ความสุข” ในการ “ทรงงาน” เพื่อพสกนิกรของพระองค์


◌◌◌◌◌◌◌◌


Credit : นิตยสารสารคดี ฉบับที่ 256

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

" 3 ห่วง 2 เงื่อนไข " จากปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


           หลายท่านคงเคยได้ยินเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกันเป็นอย่างดี   แต่พอถามว่า “3 ห่วง 2 เงื่อนไข”  มีอะไรบ้างในข้อสอบ    บรรดานักศึกษาล้วนอึ้งไปตามๆกัน    ความจริงแล้วเป็นการสรุปแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในมุมมองง่ายๆ   ลองศึกษากันดูนะคะ

3 ห่วง ประกอบด้วย 

- ความพอประมาณ   หมายถึง  ความพอดี  ที่ไม่น้อยเกินไป  และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

- ความมีเหตุผล  หมายถึง  การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น  จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล  โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง   ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจาการกระทำนั้นๆอย่างรอบคอบ

- มีระบบภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล


2 เงื่อนไข ประกอบด้วย 

- เงื่อนไขความรู้   ประกอบด้วย  ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน   ความรอบคอบ   ที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน   เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขึ้นปฏิบัติ

- เงื่อนไขคุณธรรมที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วยมีความตะหนักในคุณธรรม   มีความซื่อสัตย์สุจริต  มีความอดทน  มีความเพียร   ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิตไม่โลภ  และไม่ตระหนี่

วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


             พื้นฐานของประเทศไทย เป็นประเทศเกษตรกรรม ดังนั้น จุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง คือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจ . ชุมชนท้องถิ่นตั้งแต่ขั้นการฟื้นฟูและขยายเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน อันเป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพออยู่พอกินไปจนถึงการแปรรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน สร้างอาชีพ และทักษะวิชาการ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาทีละขั้นตอนเป็นลำดับ ในเรื่องต่าง ๆ รวมถึงเทคโนโลยีที่ค่อย ๆ พัฒนาขึ้นมาจากฐานทรัพยากรและภูมิปัญญาที่มีอยู่ภายในชาติและที่จะเรียนรู้จากโลกภายนอกด้วย 

เศรษฐกิจพื้นฐาน ประกอบด้วยลักษณะสำคัญคือ
•  เป็นเศรษฐกิจ   ของคนทั้งมวล
•  มีชุมชนที่เข้มแข็งเป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจ
•  มีความเป็นบูรณาการเข้มแข็งไปพร้อม ๆ กันหมด ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ  สังคม สิ่งแวดล้อม และ วัฒนธรรม
•  เติบโตบนพื้นฐานที่เข้มแข็งของเราเอง เช่น ด้านเกษตร หัตถกรรม อุตสาหกรรม สมุนไพร อาหาร การท่องเที่ยว เป็นต้น
•  มีการจัดการที่ดีเป็นพื้นฐาน ส่งเสริมการเกิดนวัตกรรมต่าง ๆ ให้สามารถนำมาใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง

การดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริพอเพียง

                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าใจถึงสภาพสังคมไทย ดังนั้น เมื่อได้พระราชทานแนวพระราชดำริ หรือพระบรมราโชวาทในด้านต่างๆ จะทรงคำนึงถึงวิถีชีวิต สภาพสังคมของประชาชนด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางความคิด ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งในทางปฏิบัติได้

แนวพระราชดำริในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง 
๑. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการใช้ชีวิต
๒. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต
๓. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง
๔. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ด้วยการขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้มีรายได้เพิ่มพูนขึ้น จนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ
๕. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่ว ประพฤติตนตามหลักศาสนา

ที่มา chaipat.or.th

ประเทศไทยกับเศรษฐกิจพอเพียง


                        เศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นให้ผู้ผลิต หรือผู้บริโภค พยายามเริ่มต้นผลิต หรือบริโภคภายใต้ขอบเขต ข้อจำกัดของรายได้ หรือทรัพยากรที่มีอยู่ไปก่อน ซึ่งก็คือ หลักในการลดการพึ่งพา เพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมการผลิตได้ด้วยตนเอง และลดภาวะการเสี่ยงจากการไม่สามารถควบคุมระบบตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                        เศรษฐกิจพอเพียงมิใช่หมายความถึง การกระเบียดกระเสียนจนเกินสมควร หากแต่อาจฟุ่มเฟือยได้เป็นครั้งคราวตามอัตภาพ แต่คนส่วนใหญ่ของประเทศ มักใช้จ่ายเกินตัว เกินฐานะที่หามาได้

                        เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปสู่เป้าหมายของการสร้างความมั่นคงในทางเศรษฐกิจได้  เช่น โดยพื้นฐานแล้ว ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม เศรษฐกิจของประเทศจึงควรเน้นที่เศรษฐกิจการเกษตร เน้นความมั่นคงทางอาหาร เป็นการสร้างความมั่นคงให้เป็นระบบเศรษฐกิจในระดับหนึ่ง จึงเป็นระบบเศรษฐกิจที่ช่วยลดความเสี่ยง หรือความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจในระยะยาวได้
                        เศรษฐกิจพอเพียง สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ ทุกสาขา ทุกภาคของเศรษฐกิจ ไม่จำเป็นจะต้องจำกัดเฉพาะแต่ภาคการเกษตร หรือภาคชนบท แม้แต่ภาคการเงิน ภาคอสังหาริมทรัพย์ และการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ
                        โดยมีหลักการที่คล้ายคลึงกันคือ เน้นการเลือกปฏิบัติอย่างพอประมาณ มีเหตุมีผล และสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ตนเองและสังคม

ที่มา chaipat.or.th

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


              เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง  การดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 30 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
v แนวคิดหลัก
เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง  โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

v เป้าหมาย
           มุ่งให้เกิดความสมดุลพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม จากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

v หลักการ
ความพอเพียง หมายถึง   ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวพอสมควรต่อการมีผล กระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน


v เงื่อนไขพื้นฐาน
         - จะต้องอาศัยความรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการ
ต่าง ๆ  มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน
         - การเสริมสร้างจิตใจของตนในชาติ  โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้สำนึกคุณธรรม  ความซื่อสัตย์ สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม  ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ

v นิยามของความพอเพียง
ความพอประมาณ   หมายถึง  ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิต และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
ความมีเหตุผล   หมายถึง  การตัดสินใจเกี่ยวกับความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล  โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง  ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี  หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

v เงื่อนไขเพื่อให้เกิดความพอเพียง
การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้พอเพียงต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรม
พื้นฐาน
         เงื่อนไขความรู้  ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน  เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
         เงื่อนไขคุณธรรม  ที่จะต้องเสริมสร้าง  ประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม  เช่น
มีความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต